พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ (7 กันยายน พ.ศ. 2478 — 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556) อดีตรองนายกรัฐมนตรี แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ก่อตั้ง และเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคมหาชน เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีชื่อที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เสธ.หนั่น"
สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นชาวจังหวัดพิจิตร เคยรับราชการเป็นทหารบก เหล่าทหารม้า มียศทางทหารสุดท้ายเป็นพันโท ก่อนจะถูกให้ออกจากราชการ เมื่อ พ.ศ. 2520 เมื่อร่วมก่อการกบฏ 26 มีนาคม 2520 ซึ่งมี พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริเป็นหัวหน้า และมี พ.ท.สนั่นเป็นเลขาธิการคณะ พ.ท.สนั่นถูกจำคุกที่ เรือนจำลาดยาว จากข้อหากบฏ ทำให้ได้พบและสนิทสนมกับ พ.อ.มนูญ รูปขจร (ปัจจุบันคือ พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร) ต่อมาในภายหลังเมื่อ พ.ท.สนั่น ได้เข้าทำงานการเมือง และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ท.สนั่นได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็น "พลตรี"
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นบุตรคนที่ 6 ของขุนขจรประศาสน์ และบ๊วย มีพี่น้องรวมกันทั้งสิ้น 7 คน ประกอบด้วย[ต้องการอ้างอิงเต็ม]
พลตรีสนั่น สมรสกับฉวีวรรณ ขจรประศาสน์ (นามสกุลเดิม วงศ์ใหญ่) มีบุตรธิดารวม 4 คน คนที่ 3 เป็นบุตรชายเข้าสู่วงการเมือง คือ ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร เขต 3 พรรคมหาชน ส่วนอีก 3 คนเป็นบุตรสาวทั้งหมด คือ บงกชรัตน์ ขจรประศาสน์, ปัทมารัตน์ ขจรประศาสน์ และวัฒนีพร ขจรประศาสน์
พลตรีสนั่น มีธุรกิจส่วนตัวคือ ฟาร์มนกกระจอกเทศชื่อ "ขจรฟาร์ม" ซึ่งเป็นฟาร์มนกกระจอกเทศที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ยังทำไร่องุ่นดงเจริญ และผลิตไวน์ชื่อ "ชาโต เดอ ชาละวัน"
ในเหตุการณ์กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 ที่มีความพยายามโค่นล้มรัฐบาลชุดที่มีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี จาก พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ แต่ไม่สำเร็จ พล.ต.สนั่น ซึ่งในขณะนั้นมียศเป็น พันโท (พ.ท.) ได้เข้าร่วมกับฝ่ายกบฏด้วย
ภายหลัง เมื่อถูกจับ ถูกตัดสินจำคุกซึ่งต่อมาได้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตร่วมกับผู้ก่อการคนอื่น ๆ แต่ภายหลังทั้งหมดได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปีเดียวกัน
ปลายปี พ.ศ. 2540 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ถูกแรงกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เนื่องจากการลดค่าเงินบาทในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และตัดสินใจลาออกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ในเวลานั้นพรรคร่วมรัฐบาล ที่ประกอบด้วย พรรคความหวังใหม่, พรรคชาติพัฒนา, พรรคชาติไทย, พรรคประชากรไทย, พรรคกิจสังคม ตกลงร่วมกันที่จะสนับสนุน พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา อดีตนายกรัฐมนตรี ให้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่ทางพรรคฝ่ายค้านที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ และมีจำนวนส.ส.น้อยกว่าพรรคความหวังใหม่เพียง 2 เสียง ก็มีความพยายามที่จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลด้วยเช่นกัน
วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 นายเสนาะ เทียนทอง เลขาธิการพรรคความหวังใหม่ ได้จัดแถลงข่าว ยืนยันการจัดตั้งรัฐบาล โดยมี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ชั้นล่างของทำเนียบรัฐบาล แต่ในเวลาเดียวกัน พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก็เปิดแถลงข่าว เรื่องการจัดตั้งรัฐบาลด้วย โดยมีเสียงสนับสนุนจากพรรคกิจสังคมของ นายมนตรี พงษ์พานิช ที่ย้ายฟากมาจากพรรคร่วมรัฐบาลเดิมอย่างกะทันหัน และมีตัวแปรสำคัญคือ ส.ส. พรรคประชากรไทย จำนวน 12 คน นำโดย นายวัฒนา อัศวเหม และ นายฉลอง เรี่ยวแรง ที่เข้าร่วมสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่หัวหน้าพรรคประชากรไทย คือ นายสมัคร สุนทรเวช ไม่ทราบมาก่อนและยังสนับสนุนฝ่าย พล.อ.ชาติชาย ทำให้สถานการณ์พลิกกลับอย่างรวดเร็ว กลายเป็นเสียงทางฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์มีมากกว่า และทำให้นายชวน หลีกภัย ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 ในที่สุด
หลังเหตุการณ์ครั้งนี้ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ได้กล่าวเปรียบเทียบว่า ตนเป็นเหมือนชาวนาในนิทานอีสป เรื่อง "ชาวนากับงูเห่า" ที่เก็บงูเห่าที่กำลังจะตายจากความหนาวเย็น มาไว้ในอกเสื้อเพื่อให้ความอบอุ่น แต่ต่อมางูเห่านั้นก็ฉกชาวนาตาย ซึ่งนายสมัครเปรียบเทียบกับ แกนนำของ ส.ส. ทั้ง 12 คน โดยเฉพาะ ส.ส.กลุ่มปากน้ำ ของนายวัฒนา อัศวเหม ซึ่งเดิมสังกัดพรรคชาติไทย แต่ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ไม่มีพรรคใดรับเข้าสังกัด จนในที่สุดมาเข้าสังกัดพรรคประชากรไทย ที่นายสมัครเป็นหัวหน้าพรรค และต่อมามีการตัดสินใจทางการเมือง ที่ขัดต่อมติพรรคดังกล่าว ทำให้ต่อมาสื่อมวลชน เรียก ส.ส. 12 คนนี้ตามคำพูดของนายสมัครว่า "กลุ่มงูเห่า" อยู่เป็นเวลานาน
ต่อมามีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่า ส.ส. พรรคประชากรไทยทั้ง 12 คน มีสิทธิตามกฎหมาย ที่จะตัดสินใจทางการเมืองโดยอิสระ เช่น การสนับสนุน นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามมติพรรค หรือความต้องการของหัวหน้าพรรคการเมืองที่ตนสังกัด การรวบรวมเสียง ส.ส. จนสามารถสนับสนุน นายชวน หลีกภัย ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 ได้สำเร็จครั้งนี้ ทำให้ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ได้รับการกล่าวขานถึงในฐานะผู้มีเหลี่ยมคูทางการเมือง และเป็นกรณีศึกษาหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย
นายอดิศร เพียงเกษ ส.ส.จังหวัดขอนแก่น พรรคความหวังใหม่ ได้เปิดเผยข้อมูลระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจพลตรีสนั่น ว่า พลตรีสนั่น แสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จ ต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยระบุว่ามีการกู้ยืมเงินจำนวน 45 ล้านบาท จากบริษัท เอเอเอส ออโต้เซอร์วิส ทั้งที่ไม่มีการกู้ยืมจริง
ต่อมา นายวีระ สมความคิด ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพประชาชน ได้ยื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช. ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง จนคดีเข้าสู่ กระบวนการทางกฎหมาย และต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยเป็นเอกฉันท์ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ว่า พล.ต.สนั่น มีความผิด ฐานจงใจแสดง บัญชทรัพย์สินอันเป็นเท็จ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 295 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
จากการถูกดำเนินคดีทางการเมืองดังกล่าว ทำให้ พล.ต.สนั่น ต้องลาออกจากตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นมายาวนานถึง 13 ปี โดยมี นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เข้ารักษาการตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นเวลาสั้น ๆ และต่อมา นายอนันต์ อนันตกูล ได้รับเลือกให้ขึ้นดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2543
หลังการถูกตัดสิทธิทางการเมือง พล.ต.สนั่น ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และในที่สุดได้ก่อตั้ง พรรคมหาชน ขึ้น โดยมี ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 และต่อมา พล.ต.สนั่น ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนต่อมา
วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 พล.ต.สนั่น พร้อมด้วย นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ บุตรชาย และสมาชิกพรรคมหาชน เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันไม่เอื้อดำเนินงานของพรรคการเมืองขนาดเล็ก ถือเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานของพรรคมหาชนไปโดยบริยาย
ต่อมาในการร่วมรัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 พล.ต.สนั่นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และรัฐบาลนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ
ในวันที่12 มีนาคม พ.ศ. 2555 พล.ต.สนั่น ในฐานะประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ประกาศยุติบทบาททางการเมือง โดยขอยุติการทำหน้าที่ในฐานะ ส.ส. แต่ยังคงพร้อมที่จะช่วยงานพรรค และงานการเมืองของประเทศต่อไป
พล.ต.สนั่น ป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพอง เกิดอาการหัวใจวายกะทันหัน จนครอบครัวต้องนำส่งโรงพยาบาลนนทเวช เมื่อกลางดึกของวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 แพทย์ต้องปั๊มหัวใจให้ฟื้นชีพ แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงย้ายไปโรงพยาบาลศิริราช พลตรีสนั่น ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ เมื่อเวลา 17.09 น. วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 จากภาวะแทรกซ้อนจากอาการถุงลมโป่งพอง พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ถึงแก่อนิจกรรมแล้วในวัย 77 ปี ที่โรงพยาบาลศิริราช
ทั้งนี้ พิธีรดน้ำศพจะจัดขึ้นที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์ ในเวลา 16.00 น. พรุ่งนี้ (16 กุมภาพันธ์) รพ.ศิริราช ออกแถลงการณ์ เสธ.หนั่น ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อเวลา 17.09 น.ด้วยภาวะอาการติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรุนแรง ญาติเตรียมเคลื่อนย้ายศพไปบำเพ็ญกุศลที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์ เวลา 10.00 น.วันที่ 16 ก.พ.
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • ผัน นาวาวิจิต • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • สงวน จูทะเตมีย์ • ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ • หม่อมสนิทวงศ์เสนี • สุกิจ นิมมานเหมินท์ • บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • ประมาณ อดิเรกสาร • หลวงสวัสดิ์กลยุทธ (สวัสดิ์ ไกรฤกษ์) • กฤช ปุณณกันต์ • บุณย์ เจริญไทย • พงษ์ ปุณณกันต์ • กฤษณ์ สีวะรา • โอสถ โกศิน • อรุณ สรเทศน์ • นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ • สุรินทร์ เทพกาญจนา • ชาติชาย ชุณหะวัณ • เพิ่ม ลิมปสวัสดิ์ • เกษม จาติกวณิช • ประสิทธิ์ ณรงค์เดช • ประสงค์ คุณะดิลก • ชาติชาย ชุณหะวัณ • อบ วสุรัตน์ • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา • ประมวล สภาวสุ • บรรหาร ศิลปอาชา • ประมวล สภาวสุ • สิปปนนท์ เกตุทัต • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • สนั่น ขจรประศาสน์ • ไตรรงค์ สุวรรณคีรี • ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ • โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ • กร ทัพพะรังสี • สมศักดิ์ เทพสุทิน • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • พินิจ จารุสมบัติ • พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล • วัฒนา เมืองสุข • สุวิทย์ คุณกิตติ • มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ • ประชา พรหมนอก • ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง • ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ • วรรณรัตน์ ชาญนุกูล • หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ • ประเสริฐ บุญชัยสุข • จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช • อรรชกา สีบุญเรือง
(รัฐมนตรีช่วย) หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • ชม จารุรัตน์ • หลวงประสิทธิ์จักรการ (พ้วน โหตรภวานนท์) • หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สูตะบุตร) • เสมอ กัณฑาธัญ • เลื่อน พงษ์โสภณ • ประมาณ อดิเรกสาร • ชื่น ระวิวรรณ • สงวน จันทรสาขา • สะอาด หงษ์ยนต์ • ประกายเพชร อินทุโสภณ • แสวง พิบูลย์สราวุธ • วัฒนา อัศวเหม • แผน สิริเวชชะพันธ์ • บรรหาร ศิลปอาชา • บุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ • วิมล วิริยะวิทย์ • อาชว์ เตาลานนท์ • โกศล ไกรฤกษ์ • ไกรสร ตันติพงศ์ • วิสิษฐ์ ตันสัจจา • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา • เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ • บรม ตันเถียร • วงศ์ พลนิกร • ประโยชน์ เนื่องจำนงค์ • อนันต์ ฉายแสง • มีชัย วีระไวทยะ • ประมวล สภาวสุ • สมบูรณ์ จีระมะกร • กร ทัพพะรังสี • ดุสิต รังคสิริ • ไพฑูรย์ แก้วทอง • สมาน ภุมมะกาญจนะ • สมภพ อมาตยกุล • ประยูร สุรนิวงศ์ • วีระ สุสังกรกาญจน์ • เรืองวิทย์ ลิกค์ • อุดมศักดิ์ ทั่งทอง • พรเทพ เตชะไพบูลย์ • เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ • ประเทือง คำประกอบ • สนธยา คุณปลื้ม • อนุสรณ์ วงศ์วรรณ • ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ • พลกฤษณ์ หงษ์ทอง • อนุรักษ์ จุรีมาศ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย • พิเชษฐ สถิรชวาล • ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ • ฐานิสร์ เทียนทอง
ควง อภัยวงศ์ • หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ • ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ • พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนะวณิชย์) • มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • พระยาศรีพิชัยสงคราม (เจริญ จันฉาย) • พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) • ปฐม โพธิ์แก้ว • สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ • ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี • บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • พงษ์ ปุณณกันต์ • ทวี จุลละทรัพย์ • ชลี สินธุโสภณ • เชาวน์ ณศีลวันต์ • สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ • ศิริ สิริโยธิน • ทวิช กลิ่นประทุม • เลอศักดิ์ สมบัติศิริ • สุรกิจ มัยลาภ • สมพร บุณยคุปต์ • อมร ศิริกายะ • สมัคร สุนทรเวช • บรรหาร ศิลปอาชา • มนตรี พงษ์พานิช • นุกูล ประจวบเหมาะ • วินัย สมพงษ์ • วิชิต สุรพงษ์ชัย • วันมูหะมัดนอร์ มะทา • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุเทพ เทือกสุบรรณ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล • ธีระ ห้าวเจริญ • สันติ พร้อมพัฒน์ • โสภณ ซารัมย์ • สุกำพล สุวรรณทัต • จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ • ประจิน จั่นตอง • อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(รัฐมนตรีช่วย) วิลาศ โอสถานนท์ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • ชม จารุรัตน์ • สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ • ปฐม โพธิ์แก้ว • ประเสริฐ สุดบรรทัด • หลวงชำนาญอรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) • ประมาณ อดิเรกสาร • ไสว ไสวแสนยากร • เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร • พงษ์ ปุณณกันต์ • จรูญ เฉลิมเตียรณ • เนตร เขมะโยธิน • ชลี สินธุโสภณ • อุทัย วุฒิกุล • ประจวบ สุนทรางกูร • ศรีภูมิ ศุขเนตร • อุทัย พิมพ์ใจชน • สมศาสตร์ รัตนสัค • บุญยง วัฒนพงศ์ • อนันต์ ภักดิ์ประไพ • ประทวน รมยานนท์ • บุญเกิด หิรัญคำ • ประชุม รัตนเพียร • สนอง นิสาลักษณ์ • ประสงค์ สุขุม • ประสิทธิ์ ณรงค์เดช • ประสงค์ คุณะดิลก • อมร ศิริกายะ • เทพ กรานเลิศ • พล เริงประเสริฐวิทย์ • ทินกร พันธุ์กระวี • ยศ อินทรโกมาลย์สุต • ชาญ มนูธรรม • ชุมพล ศิลปอาชา • วีระ มุสิกพงศ์ • มนตรี พงษ์พานิช • บุญเทียม เขมาภิรัตน์ • สนั่น ขจรประศาสน์ • สุรพันธ์ ชินวัตร • นิคม แสนเจริญ • เอนก ทับสุวรรณ • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • เจริญ เชาวน์ประยูร • หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู • วิโรจน์ แสงสนิท • สุเทพ เทพรักษ์ • เสนาะ เทียนทอง • กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ • จรัส พั้วช่วย • ไสว พัฒโน • ทวี ไกรคุปต์ • สมศักดิ์ เทพสุทิน • พินิจ จารุสมบัติ • สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ • เดช บุญ-หลง • สมบัติ อุทัยสาง • พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์ • ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ • พิมพา จันทร์ประสงค์ • ดิเรก เจริญผล • อร่าม โล่ห์วีระ • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ • สนธยา คุณปลื้ม • เผดิมชัย สะสมทรัพย์ • โชคสมาน สีลาวงษ์ • อิทธิ ศิริลัทธยากร • ไชยา สะสมทรัพย์ • จองชัย เที่ยงธรรม • ประชา มาลีนนท์ • พงศกร เลาหวิเชียร • นิกร จำนง • พิเชษฐ สถิรชวาล • วิเชษฐ์ เกษมทองศรี • อดิศร เพียงเกษ • ภูมิธรรม เวชยชัย • ชัยนันท์ เจริญศิริ • สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม • ทรงศักดิ์ ทองศรี • อนุรักษ์ จุรีมาศ • โสภณ ซารัมย์ • วราวุธ ศิลปอาชา • ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ • เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร • สุชาติ โชคชัยวัฒนากร • ชัจจ์ กุลดิลก • กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ • พฤณท์ สุวรรณทัต • ประเสริฐ จันทรรวงทอง • พ้อง ชีวานันท์ • อาคม เติมพิทยาไพสิฐ • ออมสิน ชีวะพฤกษ์
เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ? สนั่น ขจรประศาสน์ ? อรรณพ เกรียงศักดิ์พิชิต ? สมิตา สรสุชาติ ? อภิรัต ศิรินาวิน
(เลขาธิการ) เจด็จ อินสว่าง ? ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ? บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ? อัศวิน วิภูศิริ ? รณชัย ตันตระกูล ? รชตะ สาระแน ? ไพศาล เหมือนเงิน